วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ให้นักศึกษาทำกรณีศึกษาเรื่องSF Cinema city นำไอทีพัฒนาธุรกิจและบริการ
กรณีศึกษา : SF Cinema city นำไอทีพัฒนาธุรกิจและบริการ
เอส เอฟ ซีนิม่า ซิตี้ ดำเนินธุตกิจการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และธุรกิจโรงภาพยนตร์ภาคตะวันออก และในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายธุรกิจมาสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์เป็นที่ตั้งโครงการสาขาแรก
เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่นอกจากจะแข่งขันด้วยการขยายสาขาให้คลอบคลุมพื้นที่แล้ว การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆ ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีก ดังนั้นผู้บริหารโรงภาพยนตร์จึงนำระบบจองตั๋วที่ชื่อว่า SF I-Ticket ซึ่งสามารถรับจองที่นั่งได้จาก เว็บไซต์ www.sfcinemacity.com โดยตรง ผู้ใช้สามารถเห็นที่นั่งว่างทั้งหมดในโรงภาพยนตร์เหมือนกับเค้าน์เตอร์ขายตั๋วที่โรงภาพยนตร์ และซื้อตั๋วที่นั่งที่ต้องการได้ โดยจ่ายค่าตั๋วผ่านบัตรเครดิต และผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ตั๋วจากที่บ้านด้วยบริการ Print@home ซึ่งพร้อมเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปถึงโรงภาพยนตร์ก่อนครึ่งชั่วโมง
คำถาม
1. ระบบไอทีที่เอส เอฟ ซีนิม่า ซิตี้ นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง
2. ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
3. หากจะนำระบบไอทีของเอส เอฟ ซีนิม่า ซิตี้ มาใช้บริการด้านอื่นๆ จะแนะให้นำไอทีมาต่อยอดได้อย่างไร
เอส เอฟ ซีนิม่า ซิตี้ ดำเนินธุตกิจการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ และธุรกิจโรงภาพยนตร์ภาคตะวันออก และในปี พ.ศ. 2542 ได้ขยายธุรกิจมาสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์การค้ามาบุญครองเซ็นเตอร์เป็นที่ตั้งโครงการสาขาแรก
เนื่องจากธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่นอกจากจะแข่งขันด้วยการขยายสาขาให้คลอบคลุมพื้นที่แล้ว การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยบริการใหม่ๆ ก็เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะมัดใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีก ดังนั้นผู้บริหารโรงภาพยนตร์จึงนำระบบจองตั๋วที่ชื่อว่า SF I-Ticket ซึ่งสามารถรับจองที่นั่งได้จาก เว็บไซต์ www.sfcinemacity.com โดยตรง ผู้ใช้สามารถเห็นที่นั่งว่างทั้งหมดในโรงภาพยนตร์เหมือนกับเค้าน์เตอร์ขายตั๋วที่โรงภาพยนตร์ และซื้อตั๋วที่นั่งที่ต้องการได้ โดยจ่ายค่าตั๋วผ่านบัตรเครดิต และผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ตั๋วจากที่บ้านด้วยบริการ Print@home ซึ่งพร้อมเข้าโรงภาพยนตร์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปถึงโรงภาพยนตร์ก่อนครึ่งชั่วโมง
คำถาม
1. ระบบไอทีที่เอส เอฟ ซีนิม่า ซิตี้ นำมาใช้นี้ส่งผลต่อเจ้าของธุรกิจและผู้ใช้บริการอย่างไรบ้าง
2. ระบบที่นำมาใช้นี้มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
3. หากจะนำระบบไอทีของเอส เอฟ ซีนิม่า ซิตี้ มาใช้บริการด้านอื่นๆ จะแนะให้นำไอทีมาต่อยอดได้อย่างไร
วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems)
บริหารต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ปัจจุบันผู้บริหารต้องประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์และสร้างโอกาสในการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์การ ผู้บริหารต้องสามารถจัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)
ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงาน กำหนดโครงสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (information system infrastructure) เช่น อุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสารและจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความยืดหยุ่นในการปรับตัวของงานสารสนเทศในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)
ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่งเฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องในการทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ
1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ
2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ
ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ
ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน